“ตะขบ” จัดเป็นผลไม้ในกลุ่มตระกูลของพวกเบอรี่ ซึ่งมีทั้งพันธุ์พื้นบ้านของประเทศไทยและพันธุ์จากต่างประเทศ ตะขบสามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย นิยมใช้ผลตะขบมารับประทานกันสดๆ เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง ต้นตะขบเป็นไม้ชนิดเนื้ออ่อนนิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาช่วยพรางแสงแดดได้เป็นอย่างดี ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ลักษณะของตะขบ
ลำต้น
ตะขบจัดเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งจะแผ่กว้างไปตามพื้นดิน ปลายกิ่งจะโค้งลงดิน มีความสูงประมาณ 2 – 7 เมตร สีของเปลือกลำต้นเป็นสีเทา
ใบ
มีลักษณะใบเดี่ยวขนาดเล็ก ขึ้นสลับกันไปมาตามแนวทแยง โคนใบใหญ่ ปลายใบเรียว ด้านหลังใบจะเห็นเป็นเส้นใยอยู่อย่างชัดเจน มีขนนุ่มๆอยู่ทั้งหน้าและหลังใบ ขอบใบหยักรูปร่างคล้ายฟันเลื่อย
ดอก
มีลักษณะกลีบดอกเป็นสีขาวมีจำนวน 5 กลีบ
ผล
มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เปลือกค่อนข้างบาง มีก้านผลยาว มีเกสรติดอยู่ที่ปลายของผล เริ่มแรกผลจะมีสีเขียวจนเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสชาติหวาน
สรรพคุณของตะขบ
1.ช่วยขับเหงื่อ ขับลม โดยใช้ส่วนของใบมาใช้
2.ช่วยแก้ปวดลดการอักเสบ โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้
3.ช่วยขับเลือดหรือระดูของสตรี โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้
4.ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อาการอ่อนเพลีย โดยกินผลสดๆ
5.ช่วยขับเสมหะ โดยใช้ส่วนของรากมาใช้
6.ช่วยแก้หวัด ลดไข้ โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้ต้มชงน้ำดื่ม
7.ช่วยรักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ส่วนของลำต้นมาใช้
8.ช่วยรักษาอาการปวดท้อง โดยใช้ส่วนของดอกมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มชงน้ำดื่ม
9.ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ โดยใช้ส่วนของดอกมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มชงน้ำดื่ม
10.ช่วยรักษาอาการท้องร่วง โดยใช้ส่วนของเนื้อไม้มาใช้
11.ช่วยป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง เพราะมีธาตุแคลเซียม
12.ช่วยในการขับถ่าย เพราะมีเส้นใยอาหารสูง โดยในปริมาณ 100 กรัมจะมีใยอาหารสูงถึง 6 กรัม
13.ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตก เพราะมีธาตุโพแทสเซียมสูง
14.ช่วยรักษาอหิวาตกโรค โดยใช้ส่วนของยางจากลำต้น มาเป็นส่วนผสมของยา
ฉะนั้น ตะขบจึงเป็นผลไม้ที่เราสมควรอย่างยิ่งในการให้คุณค่า ถึงแม้ว่าตะขบจะไม่มีราคาอะไรมากมาย แต่เนื่องจากมีสรรพคุณอันหลากหลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จึงสมควรที่เราควรจะปลูกตะขบเอาไว้ภายในบ้านเรือนเพราะนอกจากลำต้นกิ่งก้านจะให้ร่มเงาที่เย็นสบายแก่บ้านแล้ว ผลของตะขบยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของเหล่านกนานาชนิด อันเป็นการเสริมสร้างระบบนิเวศของธรรมชาติที่สมบูรณ์ของคนและสัตว์
ขอบคุณที่มา http://สาระน่ารู้.com/2017/09/23/ประโยชน์ล้วนๆ-ตะขบ-ผลไม/
ลักษณะของตะขบ
ลำต้น
ตะขบจัดเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งจะแผ่กว้างไปตามพื้นดิน ปลายกิ่งจะโค้งลงดิน มีความสูงประมาณ 2 – 7 เมตร สีของเปลือกลำต้นเป็นสีเทา
ใบ
มีลักษณะใบเดี่ยวขนาดเล็ก ขึ้นสลับกันไปมาตามแนวทแยง โคนใบใหญ่ ปลายใบเรียว ด้านหลังใบจะเห็นเป็นเส้นใยอยู่อย่างชัดเจน มีขนนุ่มๆอยู่ทั้งหน้าและหลังใบ ขอบใบหยักรูปร่างคล้ายฟันเลื่อย
ดอก
มีลักษณะกลีบดอกเป็นสีขาวมีจำนวน 5 กลีบ
ผล
มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เปลือกค่อนข้างบาง มีก้านผลยาว มีเกสรติดอยู่ที่ปลายของผล เริ่มแรกผลจะมีสีเขียวจนเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดง รสชาติหวาน
สรรพคุณของตะขบ
1.ช่วยขับเหงื่อ ขับลม โดยใช้ส่วนของใบมาใช้
2.ช่วยแก้ปวดลดการอักเสบ โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้
3.ช่วยขับเลือดหรือระดูของสตรี โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้
4.ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อาการอ่อนเพลีย โดยกินผลสดๆ
5.ช่วยขับเสมหะ โดยใช้ส่วนของรากมาใช้
6.ช่วยแก้หวัด ลดไข้ โดยใช้ส่วนของดอกมาใช้ต้มชงน้ำดื่ม
7.ช่วยรักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ส่วนของลำต้นมาใช้
8.ช่วยรักษาอาการปวดท้อง โดยใช้ส่วนของดอกมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มชงน้ำดื่ม
9.ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ โดยใช้ส่วนของดอกมาตากแห้ง แล้วนำไปต้มชงน้ำดื่ม
10.ช่วยรักษาอาการท้องร่วง โดยใช้ส่วนของเนื้อไม้มาใช้
11.ช่วยป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง เพราะมีธาตุแคลเซียม
12.ช่วยในการขับถ่าย เพราะมีเส้นใยอาหารสูง โดยในปริมาณ 100 กรัมจะมีใยอาหารสูงถึง 6 กรัม
13.ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองแตก เพราะมีธาตุโพแทสเซียมสูง
14.ช่วยรักษาอหิวาตกโรค โดยใช้ส่วนของยางจากลำต้น มาเป็นส่วนผสมของยา
ฉะนั้น ตะขบจึงเป็นผลไม้ที่เราสมควรอย่างยิ่งในการให้คุณค่า ถึงแม้ว่าตะขบจะไม่มีราคาอะไรมากมาย แต่เนื่องจากมีสรรพคุณอันหลากหลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จึงสมควรที่เราควรจะปลูกตะขบเอาไว้ภายในบ้านเรือนเพราะนอกจากลำต้นกิ่งก้านจะให้ร่มเงาที่เย็นสบายแก่บ้านแล้ว ผลของตะขบยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของเหล่านกนานาชนิด อันเป็นการเสริมสร้างระบบนิเวศของธรรมชาติที่สมบูรณ์ของคนและสัตว์
ขอบคุณที่มา http://สาระน่ารู้.com/2017/09/23/ประโยชน์ล้วนๆ-ตะขบ-ผลไม/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น