หากไม่รู้อันตรายมาก ยางระเบิดแน่!! ตรงแก้มยางมีอักษรปริศนาบอกความเร็วสูงสุดที่รองรับได้


การขับขี่ที่ดีควรมียางที่ดีเป็นตัวประสานระหว่างรถและผู้ขับ หากยางที่ใช้นั้นดีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนก็จะออกมาอย่างเต็มที่ การที่จะเปลี่ยนยางสักครั้งควรเรียนรู้ว่า ยางแต่ละชนิดผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานประเภทใด ซึ่งจะทำให้เราได้ของที่เราต้องการมากที่สุด ตอบโจทย์การใช้งานเรามากที่สุด และคุ้มเงินเรามากที่สุด ไม่ควรสักแต่ว่าเปลี่ยน หรือเข้าร้านแล้วให้ร้านเลือกให้ เราควรมีความรู้ในการเลือกใช้เอง
ค่าต่างๆที่สำคัญ ยางรถยนต์โดยทั่วไป รหัสบนแก้มยางรถยนต์จะบ่งบอกอะไรหลายๆ อย่างพื้นฐานที่เราสามารถรับรู้ได้ คือ ขนาด และ วันผลิตยางซิ่ง ยางถนน 

ค่าต่างๆที่สำคัญกับยางรถยนต์ Code ยางรถยนต์ 

"185" คือ ความกว้างของยาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร

"75" คือ ความสูงของแก้มยาง เท่ากับ 75% ของความกว้างยาง

"R" คือ ชนิดของยาง ซึ่งตอนนี้ก็เป็นเรเดียลเกือบทั้งหมด

"14" คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางล้อ หน่วยเป็นนิ้ว

"82" พิกัดรับน้ำหนักบรรทุก

"s" พิกัดอัตราความเร็ว
ความกว้างของยาง หมายถึงความกว้างสูงสุดระหว่างแก้มซ้าย-แก้มขวา 

ความสูงของแก้มยาง โดยทั่วไปเราเรียกกันว่า ” ซีรีย์ ” เช่น ซีรีย์60 สูง 60%ของความกว้างยาง 

เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อ โดยทั่วไปเราเรียกกันว่า ” ขอบ ” เช่น ยางขอบ 15 ใส่กับล้อ ขอบ 15

พิกัดรับน้ำหนักบรรทุก กับ พิกัดอัตราความเร็ว ดูตามตารางด้านล่าง


Code วันผลิด

ตรงแก้มยางรถยนต์หาดูดีดี ยางส่วนใหญ่จะบอกไว้รหัส ตามภาพ>>> (3913) หมายถึง ผลิตเมื่อ สัปดาห์ที่ 39 ของปี 2013ตัวเลข คู่แรก คือ สัปดาห์ที่ 39 คู่หลัง คือ ปี 13
จุดสีเหลืองนี้ เรียกว่าจุด weight mark ซึ่งผู้ผลิตยางรถยนต์ จะทำเครื่องหมายด้วยการแต้มสีลงบนส่วนที่เบาที่สุดของยาง เพื่อให้ช่างทราบว่า ส่วนใดมีน้ำหนัดเบาที่สุด บนยางรถยนต์เส้นนี้ และก็ควรใส่ยางโดยเอาจุ๊บลม (ซึ่งมีน้ำหนักถ่วง) ให้ตรงกับจุดสีเหลืองนั้น เพื่อที่จะได้เกิดความสมมาตรมากที่สุด เวลาที่ถ่วงล้อ

การผลิตยางรถยนต์แต่ละเส้น แต่ละล๊อตเป็นไปไม่ได้ที่น้ำหนักยางจะคงที่เท่ากันทั้งหมด จุดสีเหลือง จึงเป็นเรื่องที่เราควรทราบ และ ช่างก็ควรทราบ จะได้ไม่เปลืองตะกั่วถ่วงยางมากเกินไป แต่เมื่อใด ที่เห็นจุดสีแดงปรากฏอยู่บนแก้มยางรถยนต์ด้วย ให้ลืมจุดสีเหลืองไปได้เลย แล้วยึดจุดสีแดงแทนครับ


ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถกระบะ มีลักษณะดังนี้  195R14C 8PR คือ..


  • 195 คือ ความกว้างยางรถยนต์ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
  • R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล
  • 14 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว
  • C คือ ยางที่ใช้เพื่อการขนส่ง (มาจากคำว่า commercial)
  • 8PR คือ อัตราชั้นผ้าใบเทียบเท่า 8 ชั้น(ในส่วนของซีรีส์ ถ้าไม่ได้ระบุ คือ ซีรีส์ 80)
ความหมายของตัวเลขและตัวอักษรบนแก้มยางรถขับเคลื่อน 4 ล้อมีลักษณะดังนี้

  • 31×10.5R15
  • 31 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางยางรถยนต์ มีหน่วยเป็นนิ้ว
  • 10.5 คือ ความกว้างยาง มีหน่วยเป็นนิ้ว
  • R คือ โครงสร้างยางแบบเรเดียล
  • 15 คือ เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ มีหน่วยเป็นนิ้ว
ตัวอย่างเช่น 180/55-ZR17 58W
  • 180 คือ ความกว้างหน้ายาง 180 มิลลิเมตร
  • 55 คือ ความสูงแก้มยาง วัดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความกว้างหน้ายาง ในตัวอย่างคือ 55% ของ 180 นั่นคือ ยางมีความสูง 99 มม.
  • Z คือ ตัวบอกว่าเป็นยางที่ใช้กับรถความเร็วสูง
  • R คือ บอกชนิดของยาง ว่าเป็นยางเรเดียล ถ้าไม่มีตัวนี้แสดงว่าเป็นยาง Belt Bias
  • 17 คือ ขนาดขอบล้อ 17 นิ้ว
  • 58 คือ เรทการรับน้ำหนักสูงสุดของยาง (Load Index) เทียบเท่ากับ 236 กิโลกรัม
  • W คือ เรทความเร็วสูงสุดที่ยางรับได้ ซึ่งตัว W หมายถึงไม่เกิน 270 กม./ชม.
ถ้ามีคำว่า M/C อยู่นั่นจะเป็นตัวบอกว่ายางเส้นนี้ออกแบบมาให้ใช้กับมอเตอร์ไซค์

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าเจ้ารหัสตัว “W” หรือรหัสบอกความเร็วสูงสุดที่สามารถรับได้ ที่อยู่ตัวหลังสุดมีอะไรกันบ้าง
  • B —– 50 km/h —– 31 mph
  • C —– 60 km/h —– 37 mph
  • D —– 65 km/h —– 40 mph
  • E —– 70 km/h —– 43 mph
  • F —– 80 km/h —– 50 mph
  • G —– 90 km/h —– 56 mph
  • J —– 100 km/h —– 62 MPH
  • K —– 110 km/h —– 68 MPH
  • L —– 120 km/h —– 75 MPH
  • M —– 130 km/h —– 81 MPH
  • N —– 140 km/h —– 87 MPH
  • P —– 150 km/h —– 93 MPH
  • Q —– 160 km/h —– 99 MPH
  • R —– 170 km/h —– 106 MPH
  • S —– 180 km/h —– 112 MPH
  • T —– 190 km/h —– 118 MPH
  • U —– 200 km/h —– 124 MPH
  • H —– 210 km/h —– 130 MPH
  • V —– 240 km/h —– 150 MPH
  • W —– 270 km/h —– 168 MPH
  • Y —– 300 km/h —– 186 MPH
  • Z —– over 240 km/h —– over 150 mph

อย่าลืมแชร์บอกต่อให้เพื่อนๆได้ทราบกันนะครับ  
ขอบคุณข้อมูลจาก pantip.com, Boxzaracing

ความคิดเห็น